ย้อนรอย ประทีป คชบัว ในผลงานชุด
'ท้องร้อง สมองพูด'
"อยากให้เห็นถึงพลังและความตั้งใจในการทำงานเซอร์เรียลลิสม์ ทั้งนักเขียน นักศึกษาศิลปะ และผู้ชมงานศิลปะทั่วไป อยากให้คนที่ชอบ และสร้างงานแนวนี้อยู่ มีกำลังใจการสร้างงานเซอร์เรียลลิสม์ จะยังคงอยู่ต่อไป..." นี่คือคำเว้าวอนของ ประทีป คชบัว ในหนังสือประกอบนิทรรศการผลงานชุด ท้องร้อง สมองพูด ซึ่งเป็นผลงานชุดล่าสุดของเขาที่แสดงผ่านไปเมื่อช่วงวันที่ 4-30 พฤศจิกายน 2546 ที่ Atelier อาคาร Tisco เหตุที่นำมาย้อนรอยก็เพราะว่าเมื่อสืบค้นดูผลงานของศิลปินคนนี้แล้วมีประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องความเป็น Surrealist ของเขา ที่หลงใหลรูปรสของศิลปะแนวคิดและรูปแบบมาตั้งแต่สมัยเรียนอยู่ที่คณะจิตรกรรม ประติมากรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร จนกระทั่งเขาได้เสนอศิลปะนิพนธ์ขอจบด้วยผลงานรูปลักษณ์ของ Surrealism ในปี พ.ศ.2527 ในชุด การเปลี่ยนแปลงของวัตถุตามสภาวะจิต
แต่เมื่อพลิกดูหนังสือ จิตรกรรม และวรรณกรรมแนวเซอร์เรียลลิสต์ ในประเทศไทย พ.ศ.2507-2527 ซึ่งเป็นงานวิจัยของ รศ.ดร.สดชื่น ชัยประสาธน์ ที่พิมพ์ออกมาในปี พ.ศ.2539 ก็ปรากฏว่าไม่มีชื่อของ ประทีป คชบัว ถูกนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบผลงานแนวเซอร์เรียลิสต์ในหนังสือเล่มนี้เลย ก็เลยชวนให้สงสัยว่า Sur-ประทีป คชบัว คนนี้ตกสำรวจไปเพราะเหตุใด ทั้งๆ ที่เขามีความคลั่งไคล้ลัทธิเหนือจริงไม่น้อยไปกว่าศิลปินคนอื่นๆ ในรุ่นของเขา เผลออาจจะมากกว่าเสียด้วยซ้ำ และเขาก็ยืนหยัดทำงานสร้างสรรค์ในแนวนี้มาตลอด จนใน พ.ศ.นี้
โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์
ปัจจุบัน หลายประเทศทั่วโลกได้มีการนำพลังงานนิวเคลียร์และรังสีมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ มากยิ่งขึ้น ซึ่งประเทศที่มีการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสีจะต้องมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการด้านความปลอดภัยการใช้พลังงานนิวเคลียร์และรังสี เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อประชาชน และสิ่งแวดล้อมภายในประเทศ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการนำพลังงานนิวเคลียร์และรังสีมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ และมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารจัดการด้านความปลอดภัยการใช้พลังงานนิวเคลียร์และรังสี คือ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งนอกจากจะมีภารกิจหลักในการบริหารจัดการความปลอดภัยดังกล่าวแล้ว ยังเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการเผยแพร่ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์และรังสีให้เป็นที่แพร่หลายอีกด้วย
ด้วยตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ และรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จึงได้ดำเนินการสร้างความเข้าใจโดยการถ่ายทอดความรู้ที่ถูกต้องไปสู่ประชาชน ผ่านสื่อและกิจกรรมต่าง ๆ ที่หลากหลาย เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ กิจกรรมเสวนา กิจกรรมค่ายเยาวชน ฯลฯ ซึ่งได้ผลเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากเรื่องของนิวเคลียร์เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก ดังนั้น การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจจึงจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ เข้าใจในภารกิจของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติรวมทั้งเห็นถึงคุณค่าของพลังงานนิวเคลียร์และรังสีอย่างแท้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น